กอดทะเล
เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือ มีการจัดสร้างพฤกษศาสตร์ และเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ได้เรียนรู้ มีชายหาดที่สวยงาม และสามารถสัมผัสชีวิตใต้ท้องทะเลด้วยเรือท้องกระจก หรือจะดำน้ำทักทายฝูงปลา และปะการังที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนบนชายฝั่งสัตหีบ ตรงข้ามเกาะแสมสาร เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เพื่อให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนและนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมอีกด้วย
เนื่องในโอกาศมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2558 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำหนังสือ "กรุงเทพฯ งามฟูเฟื่อง เรืองรองพระบรมราชวงศ์จักรี" เพื่อบรรยายความงดงามของพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และกล่าวถึงพระราชกรณียกิจสำคัญของพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงทำคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จวบจนรัชกาลปัจจุบัน
หนังสือท่องเที่ยวโครงการพระราชดำริ
จากผืนน้ำ จดผืนผ้า จากผืนดิน จนผืนทราย ไม่มีแห่งหนใดในผืนแผ่นดินไทยที่ไม่มีรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยื่ยมเยือนราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ชนบทและถิ่นทุรกันดาร ทำให้พระองค์ทรงรับรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงของราษฎรในทุกพื้นที่
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย ตั้งอยู่บนเขาหมาจอ ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ที่เปิดให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเข้าชมทุกวัน
เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และสร้างพระปรางค์วัดอรุณ พระอุโบสถพระวิหาร เพื่อเป็นพระอารามประจำรัชกาล ภายหลังได้เป็นตราสัญลักษณ์ของประเทศ
ททท. ได้ขออนุญาตมาเป็นตราประจำ ททท. โดยเพิ่มรูปเรืองสุพรรณหงส์ และ รูปเครื่องบินเข้าไป ในตราสัญลักษณ์ ที่ผู้คนรู้จักกันดี ทั้งในและต่างประเทศ
สถานีเพื่อการเรียนรู้แห่งวิถียั่งยืน
เป็นที่รู้จักกันดีว่าอุทยาน่แห่งขาติดอยอินทนนท์มีความอุดมสมบูรณ์ของขุนเขาและป่าไม้ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ สถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหวง่อีกแห่งหนึ่งที่ดำเนินงานวิจัยด้านไม้ตัดดอก ไม้ประดับ พืชผักผลไม้ และงานประมงบนพื้นที่สูง รวมทั้งถ่ายทอดผลงานวิจัย ที่จะนำไปสู่การส่งเสริมอาชีพเพื่อให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผาปกาเกอะญอและเผ่าม้งมีรายได้พร้อมกับพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านสังคม
ท่ามกลางวงล้อมของทิวเขาอินทนนท์ ที่มีพื้นที่ราบระหว่างภูเขาเพียงเล็กน้อย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติที่สวยงามเปลี่ยนสีสันไปตามฤดูกาล โดยเฉพาะสีชมพูสวยหวานของดอกนางพญาเสือโครงที่จะผลิดอกบานสะพรั่งในช่วงฤดูหนาว และอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี เป็นสถานที่ตั้งของศูนย์พันฒนาโครงการหลวงขุนวางตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สถานีแห่งแห่งของโครงการหลวง แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยปวงชนชาวไทยทั้งหลาย ได้ทรงเปลี่ยนดอยอ่างขางจากภูเขาที่เต็มไปด้วยต้นฝิ่น ให้พลิกฟื้นมาเป็นแปลงพืชผักผลไม้เมืองหนาวที่อุดมสมบูรณ์ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน สามารถพึ่งพาตนเอง มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และได้มีการพัฒนาดอยอ่างขางให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย โดยทรงใช้ดอยอ่างขางจัดตั้งเป็นสถานีวจัยและทดลองปลูกพืชผักเมืองหนาวนานาชนิด เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวไทยภูเขา ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนาม ว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง" เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของมูลนิธิโครงการหลวง
สถานีวิจัยแห่งขุนเขา ดอกไม้และสายหมอก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎร ณ หมู่บ้านหนองหอย หมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ท่ามกลางขุนเขาป่าไม้ และสายหมอกในเขตจังหวัดเชียงใหม่ มีพระราชดำริว่าควรจะมีการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ควบคู่กับไปการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพทางการเกษตร จึงตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอยขึ้นเพื่อให้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยแนะนำพืชเศรษฐกิจใหม่ๆ มาปลูกทดแทน พร้อมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของเกษตรกรในพื้นที่ให้มีรายได้เพิ่ม เป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของขาวไทยภูเขาให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
แปลงพืชผักในอ้อมกอดป่าสน ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์เป็นอีกหนึ่งโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทำการวิจัย ทดสอบ ค้นหาสายพันธุ์ของพืชที่สามารถต้านทานโรค เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่และฤดูกาล ให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดแนะนำ ส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรชาวไทย ภูเขาเผ่าปกาเกอะญอ หรือเผ่ากะเหรี่ยงให้มีรายได้เลี้ยงชีพแบบพออยู่พอกิน ด้วยการปลูกพืชผักผลไม้ เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านสังคม การศึกษา สาธารณสุข ความเข้มแข็งของชุมชน และฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าให้คงอยู่ตลอดไป
พื้นที่อนุรักษ์ที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย เป็นป่าสองผืนที่ไม่ต่อกัน คือ ป่าฮาลา ในเขต อ.เบตง จ.ยะลา กับป่าบาลา ในเขต อ.สุคิริน และ อ.แว้ง จ.นราธิวาส แต่นับเป็นป่าผืนสำคัญตามแนวเทือกเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นพรมแดนไทย-มาเลเซีย
ป่าฮาลา-บาลาเป็นป่าฝนเขตร้อนแท้แบบมาเลเซีย มีลักษณะสำคัญ คือ เรือนยอดหนาทึก มีความชื้นสูงตลอดทั้งปีเนื่องจากได้รับฝนมากกว่า 16,000 มม. ต่อปี อีกทั้งยังเชื่อต่อกับป่าเบลุ่มซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ตอนเหนือสุดของมาเลเซีย ทำให้สามารถพบเห็นนกและสัตว์ป่าในเขตชุนดาอิกที่แพร่กระจายเข้ามาถึงแหล่งดูนกของพื้นที่ที่รู้จักกันในหมู่คณะนักดูนก
เนื่องจากเกาะลิบงเป็นจุดแวะพักและหยุดหากินของนกอพยพในบริเวณภาคใต้ ซึ่งอยู่ในแนวเส้นทางอพยพย้ายถิ่นของนกจากไซบีเรีย ผ่านเอเพชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังออสเตรเลีย จึงเป็ฯพื้นที่สำคัญสำหรับการติดตามศึกษาและร่วมมือในด้านการอนุรักษ์ระหว่างประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
เป็นที่ตั้งสถานีคมนาคมทหาร และสถานีทวนสัญญาณของโทรทัศน์ รถยนต์สามารถขึ้นไปถึงจุดสูงสุดแต่สภาพทางแคบและสูงชัน
เขาเรดาร์มีทำเลที่เหมาะสมสำหรับเฝ้าดูปรากฏการณ์ เพราะการเดินทางสะดวก ไม่ไกลจาก ถนนเพชรเกษม รถขนต์เข้าถึง เปิดโล่งด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือ จึงสามารถดูเหยี่ยวเกาะฝูงหนาแน่นร่อนลมผ่านไป สำหรับเหยี่ยวที่พบเห็นเป็นจำนวนมาก ได้แก่ เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ และเหยี่ยวผึ้ง ที่แต่ละกลุ่มมีจำนวนนับพันตัว นอกจากนี้ ยังมีเหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น และเหยี่ยวหน้าเทา
อย่าไรก็ตาม บนเรดาร์มีพื้นที่ไม่มากนัก รองรับนักดูนกพร้อมอุปกรณ์ได้ไม่เกิน 50 คน เหมาะสำหรับดูเหยี่ยวในช่วงเช้าตรู่และเย็นเท่านั้น
แหล่งนาเกลือบ้านโคกขามเป็นตัวอย่างของชุมชนเล็กๆ ที่มีรูปแบบการใช้ประโยชน์จากที่ดินบริเวณอ่าวไทยตอนในที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ จนบริเวณนี้เป็นถิ่นอาศัยสำคัญในฤดูหนาว สำหรับนกหายากที่มีประชากรเหลืออยู่ไม่ถึง 400 ตัวในโลก นั่นคื นกชายเลนปากช้อน ด้วยเหตุนี้ หมู่บ้านนาเกลือธรรมดาๆ จึงกลายเป็นจุดปลายทางของนักดูนกทั่วโลก
ดอยหลวงเชียงดาวเป็นเทือกเขาหินปูนขนาดใหญ่ มียอดเขาที่สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย มีความสูง 2,225 ม. มีชื่อเสียงด้านพืชพันธุ์เฉพาะถิ่นและเส้นทางท่องเที่ยวเดินป่าสู่ยอดดอยสูง ถึงแม้ว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว จะมีพื้นที่กว้างขวางกว่า 521 ตร.กม. ประกอบด้วยถิ่นอาศัย ทั้งป่าเบญจพรรณขึ้นแบบเทือกเขาหินปูน หย่อมป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าไม้ชั้นรองไปจนถึงทุ่งหญ้าในหุบเขาที่ระดับสูงเกินกว่า 1,700 ม. มีรายงานการพบนกมากกว่า 380 ชนิด ซึ่งเป็นนกตัวแทนจากเขตดอยสูง อย่างไรก็ตาม จุดดูนกสำคัญที่ทำให้พื้นที่นี้โดดเด่นเป็นพิเศษคือ บริเวณหน่อยพิทักษ์ป่าขุนห้วยแม่กอก หรือที่นักดูนกชาวไทยคุ้นเคยในชื่อ เด่นหญ้าขัด