คู่มือแนวทางการพัฒนาต่อยอดหน่วยธุรกิจสู่การท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
E-Book :
ดาวน์โหลด :
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ในหลายประเทสได้มีการผลักดันกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas: GHG) ให้ลดน้อยลง เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะเรือนกระจก อันนำไปสู่สภาวะโลกรวนที่สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อระบบนิเวศ และทำให้สิ่งแวดล้อมรวมไปถึงทรัพยากรที่มีอยู่เสื่อมโทรมลง
การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 8 จากภาคธุรกิจทั้งหมด ทั้งจากการใช้พลังงานในโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร การเดินทางขนส่ง รวมถึงกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ วึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาสโลก (Climate Change) ดังนั้น การจะแก้ไขปัญหาหรือบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมรับผิดชอบและดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวทาง BCG Model ของภาครัฐ ที่มีแนวคิดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบยั่งยืน ดดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน คือ Bio Economy เน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า ควบคู่กับการรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมและการใช้เทคโนดลยีในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว Circular Economy เน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดใน 3 เรื่องหลัก คือ การใช้งานผลิตภัณฑ์เต็มวงจร (Reuse, Refurbish, Sharing) การแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) และการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Zero-Wate) ควบคู่ไปกับแนวคิด Green Economy เศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒยาอย่างยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาต่อยอดหน่วยธุรกิจและชุมชนสู่การท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ นอกจากจะเป็นการช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมแล้ว ยังเป็นการช่วยต่อยอดเพิ่มมูลค่า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวไทยในตลาดโลก นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นการสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่บุคลากรในหน่วยธุรกิจและนักท่องเที่ยวด้วย
ดังนั้น คู่มือแนวทางการพัฒนาต่อยอดหน่วยธุรกิจสู่การท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทิเป็นศูนย์ จะถูกใช้เป็นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของหน่วยธุรกิจในรูปแบบชุมชนท่องเที่ยว ฟาร์มสเตย์ และสามร์ทฟาร์ม เพื่อบรรเทาสภาวะโลกรวนร่วมสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทยสู่ความยั่งยืนต่อไป