อุทยานหลวงราชพฤกษ์

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ 468 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 รวม 122 วันภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552 และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552ที่ชื่ออุทยาน การตั้งชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้มีลายพระหัตถ์ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ขอพระราชทานชื่อสวนซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 แห่งนี้ว่า “สวนหลวงราชพฤกษ์” ต่อมาท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวว่า “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553 และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า “Royal Park Rajapruek

  • หอคำหลวง  เป็นอาคารสถาปัตยกรรมล้านนาที่มีรูปแบบวิจิตรตระการตา
  • สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ แสดงวิถีชีวิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
  • เรือนไม้ดอก ผสมผสานการจัดแสดงไม้ดอกจากโครงการหลวง
  • เรือนร่มไม้ สวรรค์แห่งพรรณไม้ที่มีร่มรื่น
  • โดมไม้เขตร้อน แหล่งรวบรวมเฟิร์นโบราณมากมาย
  • อาคารโลกแมลง สัมผัสแมลงมีชีวิต อาทิ ผีเสื้อ ตั๊กแตนใบไม้ ตั๊กแตนกิ่งไม้
  • อุทยานกล้วยไม้ ชมความงดงามของกล้วยไม้นานาพันธุ์

สิ่งอำนวยความสะดวก

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ/คนพิการ หรือทุพพลภาพ

ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลติดต่อ

หน่วยงานรับผิดชอบ

:

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

เบอร์โทร

:

05-3114-1102

อีเมล

:

rprp.cnx@gmail.com

เว็บไซต์

:

Facebook

:

https://www.facebook.com/rprp.cnx/

Instagram

:

https://www.instagram.com/royalparkrajapruek/

อัตราค่าบริการ/การชำระเงิน

อัตราค่าบริการ/ค่าเข้าชม

:

คนไทย
ผู้ใหญ่ ราคา 100 บาท
– เด็ก ความสูง 101-140 เซนติเมตร ราคา 70 บาท
ข้าราชการ/ผู้สูงอายุ/นักเรียน/นักศึกษา แสดงบัตร ราคา 70 บาท
ผู้พิการ พระภิกษุ และเด็กที่มีความสูงไม่เกิน 100 เซนติเมตร (ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย)                                  

ชาวต่างชาติ
ผู้ใหญ่ ราคา 200 บาท เด็ก ราคา 150 บาท
* รถไฟฟ้าชมสวนนั่งฟรี * ค่าเช่าจักรยาน คันละ 60 บาท

แชร์ให้เพื่อน

Share

ปรับขนาดตัวอักษร

ข้อมูลทั่วไป

ประเภท

:

ความสนใจพิเศษ

ทำเล

:

ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่

ที่อยู่

:

334 มู่ 3

ตำบล

:

แม่เหียะ

อำเภอ

:

เมืองเชียงใหม่

จังหวัด

:

เชียงใหม่

รหัสไปรษณีย์

:

50100

ภาค

:

ภาคเหนือ

สถานะ

:

เปิด

เวลาทำการ

:

เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.

รางวัลและมาตรฐาน

รางวัล

:

Museum Thailand Awards 2021 ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ )

Thailand Tourism Gold Awards 2023 สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้

(การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย )

มาตรฐาน

:

รางวัลมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย มาตรฐานห้องน้ำสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยว 2566

(กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา )